หน้าแรกพลังเด็กสร้างสือสสย.จัด "ขะยอมปาแอ่ว" ที่โรงเรียนบ้านพวงพยอม

สสย.จัด “ขะยอมปาแอ่ว” ที่โรงเรียนบ้านพวงพยอม

วันที่ 2-3 ธันวาคม 2566 โรงเรียนบ้านพวงพยอม อ.จุน จ.พะเยา ภายใต้สังกัด สพป.พะเยา เขต 2 จัดกิจกรรมขะยอมปาแอ่ว สำรวจประวัติศาสตร์ชุมชนและที่มาของชื่อหมู่บ้าน เพื่อร่วมกันดูแลรักษาต้นพยอมที่เหลือเพียงไม่กี่ต้นในหมู่บ้านให้คงอยู่ตลอดไป โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชนและนักปราชญ์ในท้องถิ่นเป็นอย่างดี ทั้งในเรื่องการพานักเรียนลงพื้นที่ชุมชน และการให้ข้อมูลความรู้ หลังจากนี้ เด็กนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมจะนำข้อมูลที่ได้มาวางแผน ออกแบบ เพื่อสื่อสารในเวทีขะยอมปาอู้ เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน ชุมชน และภาคี

พ่ออุ้ยแถม ตันกุล ปราชญ์ชุมชน บอกว่า “ตาแหลว” คือ เครื่องรางที่ช่วยปกป้องรักษาคุ้มครอง คนส่วนใหญ่จะนิยมนำไปติดที่หน้าบ้าน ที่ทำกิน และการทำตาแหลวไม่ใช่เป็นเรื่องยาก ซับซ้อน เพียงใช้ไม้ไผ่จำนวน 8 อัน สามารถสานเป็นตาแหลวได้แล้ว

เมื่อรุ่นพี่สามารถทำตาแหลวได้แล้ว ก็มาสอนรุ่นน้องทำตาแหลวต่อ โดยตาแหลวนี้ทำให้เกิดการช่วยกันทำ มีกันคนละอัน แล้วจะนำไปติดที่ต้นขะยอม หรือพะยอม ซึ่งเป็นชื่อของหมู่บ้านพวงพะยอม

เด็กนักเรียนเลือกเส้นทางที่จะไปศึกษาชุมชน โดยมีอยู่ 3 เส้นทางหลัก ได้แก่

เส้นที่ 1 จุดที่ 1 ศาลเจ้าพ่อเสือหม่น สอบถามปราชญ์ชุมชน ผู้เขียนประวัติของเจ้าพ่อเสือหม่น คือ นายสุกฤษฎิ์ เชิงเร็ว ปัจจุบันอายุ 77 ปี และพ่อหลวงหมู่ 6 นายเกตุเจริญ เป็นผู้สร้างศาลเจ้าพ่อเสือหม่นขึ้น ทั้ง 2 ท่านได้เล่าให้เด็กฟังว่า พื้นที่บริเวณศาลเจ้าพ่อเสือหม่นมีต้นขะยอม หรือ พะยอม อยู่จำนวน 14 ต้น ซึ่งมีจำนวนเหลือมากที่สุดในหมู่บ้านแห่งนี้ เพราะเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ยังไม่มีใครกล้าตัดทำลาย และเจ้าพ่อเสือหม่นเป็นที่เคารพนับถือของคนในหมู่บ้านพวงพะยอม ไม่ว่าใครจะย้ายมาจากที่ไหนก็ตาม

ชื่อหมู่บ้าน เดิมชื่อว่า “ปงขะยอม” ปง แปลว่า วางลง ขะยอม คือ ต้นพะยอม  สมัยแต่ก่อนคนเดินทางผ่านไปมา ก็มักจะแวะที่หมู่บ้านนี้ เอาของที่แบกมาวางลง และพักผ่อนใต้ต้นไม้ ต้นพะยอม คนในหมู่บ้านนี้จึงมีความหลากหลาย ทั้งเป็นคนปงหรือพื้นถิ่น คนน่าน และคนลำปาง ต่างย้ายมาทำมาหากินที่หมู่บ้านนี้ แต่คนในหมู่บ้านนี้ก็อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข แบ่งปันที่ดินให้ทำมาหากิน ปัจจุบันหมู่บ้านนี้ได้เปลี่ยนชื่อ หรือเรียกชื่อของหมู่บ้านผิดเพี้ยนไปจากเดิม กลายเป็น  “พวงพะยอม”

พื้นที่ที่ตั้งศาลเจ้าพ่อเสือหม่น เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมรดน้ำหัวดำของเจ้าพ่อ ในวันที่ 14 เมษายนของทุกปี ทุกคนไม่ว่าจะมาจากที่ไหนก็จะมาทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น รำวง เป็นต้น โดยในปีนี้เราอาจจะรณรงค์ให้คนตระหนักถึงต้นพะยอม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้านจะไม่มีแล้ว ควรจะช่วยกันปลูก หรือดูแลต้นพะยอมที่ยังเหลืออยู่ในลูกหลานดู

โคมล้านนา และตาแหลวแบบสี่เหลี่ยม พ่ออุ้ยศรีวงศ์ รัตนโกสินทร์ ได้เล่าให้เด็กๆฟังว่า คนทางเหนือนิยมแควนโคม เพราะเชื่อว่า โคมจะช่วยส่องแสงสว่างนำทางให้ดวงวิญญาณบรรพบุรุษมารับส่วนบุญกุศลที่ลูกหลานได้ทำให้ ส่วนตาแหลวแบบสี่เหลี่ยมนี้ ซึ่งมีธูป 2 ดอกและดอกไม้ สานกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมขัดกัน จะช่วยปัดกันไม่ให้ดวงวิญญาณอื่นที่ไม่ใช่บรรพบุรุษของเราเข้ามาเอาส่วนบุญกุศลที่เราอุทิศไปให้ได้

เส้นที่ 2  การทำนา เดิมชาวบ้านจะทำนาแบบไม่ใช้สารเคมี และใช้ควายไถ่นา แต่ปัจจุบันนี้ การทำนาได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว เพราะมีการใช้สารเคมี ทำให้ข้าวไม่ปลอดสารเคมี และสัตว์ในนา เช่น ปู ปลา ต้องตายหรือหายไป

ส่วนพิธีกรรมการสู่ขวัญควาย เป็นการระลึกถึงบุญคุณของควายที่ช่วยไถ่นา ปลูกข้าวให้คนกิน จึงต้องมีการสู่ขวัญควาย หรือขอบคุณควาย

เส้นที่ 3 โคกหนองนาและการจัดการน้ำโดยชุมชน โคกหนองนา เป็นการทำเกษตรแบบธรรมชาติ ปลูกพืชผักแบบผสมผสาน โดยมีคุณลุงเกษตรกรเล่าให้ฟังถึงสาเหตุที่ทำนาแบบนี้ เพราะลูกชายป่วยเป็นมะเร็ง จึงหันมาทำโคกหนองนา เพื่อต้องการให้ลูกชายมีอากาศที่บริสุทธิ์ และปลอดภัย 

การจัดการน้ำโดยชุมชน จะมีคณะกรรมการที่ดูแลควบคุมน้ำอิง มาจากตัวแทนกลุ่มผู้ใช้น้ำเกษตรกร ที่ส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาเป็นหลัก จะตกลงร่วมกันว่าจะสลับผันน้ำเข้านาของใคร เส้นทางเดินน้ำทางไหนบ้าง โดยอยู่บนหลักการให้ทุกคนเข้าถึงน้ำ

เมื่อเด็กๆ กลับมาจากการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนแล้ว ก็จะนำข้อมูลที่ได้ยิน ได้เห็น ได้สัมผัส มาประมวลข้อมูลให้เห็นพัฒนาการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และสิ่งที่อยากเห็นในอนาคต ผ่านแผนที่ ภาพวาด และสิ่งของที่ไปศึกษา พร้อมกับนำเสนอให้เพื่อนๆฟัง

เมื่อเด็กๆได้รับรู้ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน การโยกย้าย การตั้งถิ่นฐานและการรวมกลุ่มของผู้คนในหมู่บ้าน สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะต้นพะยอม สัญลักษณ์ประจำหมู่บ้าน วิถีชีวิตการทำนาที่เปลี่ยนแปลงไป และได้ส่งผลกระทบ ผลเสียต่อธรรมชาติ อาหารในนาปัจจุบัน  รวมทั้งได้รับรู้ สัมผัสภูมิปัญญาความเชื่อที่ยังคงอยู่กับพ่ออุ้ย คนเฒ่าคนแก่ ที่คนรุ่นใหม่อย่างพวกเด็กๆควรได้รับรู้ถึงคุณค่าความหมายและการสานต่อ

เด็กเยาวชนหล่านี้ จึงมีข้อเสนอบางอย่างที่อยากให้หมู่บ้านพวงพะยอมมีความสุขต่อไป โดยจะมีการจัดกิจกรรมการสื่อสารกับคนในชุมชน ดังต่อไปนี้

MediaInformationDigitalLiteracy
– ต้นพะยอมและการนำตาแหลวไปติดที่ต้นไม้ เพื่อให้คุ้มครองรักษา– ต้องการบอกถึงประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน – สัญลักษณ์ประจำหมู่บ้าน และประโยชน์ของต้นพะยอม – การร่วมกันดูแลรักษาอย่างจริงจัง– การทำแผนที่เส้นทาง ความสุขในปงขะยอม บนออนไลน์ และออนกาวด์– เด็กเห็นที่มาที่ไปของหมู่บ้านที่ตนเองอยู่ – เด็กเห็นวิถีชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งมีผลดีและผลกระทบ – เด็กมองว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนนี้ อยากเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น โดยได้เสนอกิจกรรมการสื่อสารเพื่อเปลี่ยนแปลงชุมชน 3 กิจกรรมหลักๆ – สื่อที่เด็กใช้ในการสื่อสาร เป็นการนำศิลปะ วัฒนธรรมที่อยู่ในชุมชนมาสื่อสารใหม่ เพื่อให้คนในชุมชนมาร่วมกันสร้างชุมชนให้ดีขึ้น
– อาหารในนา และพิธีกรรมสู่ขวัญควาย– การทำนาแบบใช้สารเคมี ไม่คำนึงถึงธรรมชาติ ส่งผลเสียต่ออาหารในนา (สัตว์, พืช) ทำให้หมดไป และได้อาหารไม่ปลอดภัย – ควายมีบุญคุณต่อเรา เราควรขอบคุณควาย และควรให้ความหมายใหม่กับควาย เพราะควายไม่ได้สื่อถึงคนโง่ เป็นการนำมาใช้บูลลี่กัน ทำให้อับอาย ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ 
– โคม และการ workshop– การทำให้สื่อศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชนสามารถบอกความหมายกับคนรุ่นใหม่ได้ (คุณค่าความหมายของโคม) – การเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคนรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่

ข้อสังเกต

1. มีผู้ใหญ่ในชุมชนหลายท่าน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ชุมชน ผู้ปกครอง ครูในโรงเรียน ฯลฯ เห็นความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กเยาวชนในครั้งนี้  ได้ขับซาเล้งพาเด็กๆศึกษาชุมชนไปยังจุดต่างๆ ร่วมให้ข้อมูล สอนเด็กทำงานศิลปะวัฒนธรรรม โดยไม่รับค่าตอบแทน รวมทั้งเห็นด้วยกับข้อเสนอของเด็กที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน

2. ทางพะเยาทีวี ซึ่งเป็นสื่อท้องถิ่น ได้ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของเด็กเยาวชนกับเมือง ได้เข้ามาถ่ายทำสื่อวีดีโอ เผยแพร่กิจกรรมของเด็กมาโดยตลอด