Latest blog posts

Written by our founders and volunteers, keeping you up to date!

กสศ.ร่วม ธนาคารโลก ถอดบทเรียนการพัฒนาทักษะทุนชีวิตต่างประเทศ และตัวอย่างการขับเคลื่อนระดับท้องถิ่น 3 จังหวัดของไทย

กสศ. ร่วมกับ ธนาคารโลก และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยน กรณีศึกษาความร่วมมือการพัฒนาทักษะทุนชีวิตในสังคมแห่งการเรียนรู้จากต่างประเทศ และการพัฒนาทักษะทุนชีวิตไทย หลังพบผลสำรวจแรงงานไทยกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ มีทักษะทุนชีวิตด้านการอ่าน ด้านดิจิทัล ด้านอารมณ์และสังคมไม่ถึงเกณฑ์ วันที่ 22 ก.พ. 2567 ที่ห้องประชุม เวิลด์ บอลรูม บี โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอนด์ บางกอกคอนเวนชัน เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับ ธนาคารโลก (World Bank) และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดเวทีการขับเคลื่อนทักษะทุนชีวิตในระดับท้องถิ่นและจังหวัด เพื่อแลกเปลี่ยน กรณีศึกษาความร่วมมือการพัฒนาทักษะทุนชีวิตในสังคมแห่งการเรียนรู้จากเมืองโบโกต้า ประเทศโคลัมเบีย และนำเสนอการขับเคลื่อนพัฒนาทักษะทุนชีวิตจาก 3 จังหวัด คือ ระยอง พะเยา และปัตตานี ที่มีบริบทพื้นที่ต่างกัน นายพัฒนะพงษ์ สุขมะดัน ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า โครงการสำรวจทักษะและความพร้อมของเยาวชนและแรงงานที่เกิดขึ้นนี้ เป็นความร่วมมือของ ธนาคารโลก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ และ กสศ. ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันมาเป็นระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่ปี 2564 เป็นการศึกษาการพัฒนาทักษะทุนชีวิต 3 ด้าน คือ การอ่านออกเขียนได้ ทักษะทางดิจิทัล และทักษะอารมณ์และสังคม ในช่วงอายุ 15-64 ปี 7,300 คนทั่วประเทศ เป็นการศึกษาของไทยครั้งแรกที่มีความเป็นสากล และที่ครอบคลุมในการอธิบายประชากรทั้งหมดของประเทศ หรือ เทียบเคียงกับ PISA...

สสย.จัดกิจกรรมชาติพันธุ์ยาตราที่โรงเรียนบ้านสันติสุข

วันที่ 16-17 ธันวาคม 2566 โรงเรียนบ้านสันติสุข อ.ปง จ.พะเยา ภายใต้สังกัดของสพป.พะเยา เขต 2 จัดกิจกรรมชาติพันธุ์ยาตรา ภายใต้โครงการสืบศาสตร์ดอย สำรวจแหล่งเรียนรู้ในชุมชนทั้งทางบกและทางน้ำ เพื่อเตรียมพัฒนาเป็นคู่มือเรียนรู้ชุมชนบ้านสันติสุข ที่ สะท้อนเมืองที่ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ และการดูแลจัดการทรัพยากรในชุมชน "น้ำ ป่า อาหาร ของทุกคน" ซึ่งหลังจากนี้ จะมีการจัดกิจกรรม "อัวด๊าเจ่ หรือ พิธีกรรมทำผีปลา" เป็นการแสดงความเคารพต่อธรรมชาติ "แม่น้ำ ป่า และอาหาร" ซึ่งเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ในฐานอนุสาวรีย์ปลา ที่เด็กๆและคนในชุมชนช่วยกันทำ คาดว่าจะจัดในต้นเดือนมีนาคม 2567 นี้

สสย.จัด “ขะยอมปาแอ่ว” ที่โรงเรียนบ้านพวงพยอม

วันที่ 2-3 ธันวาคม 2566 โรงเรียนบ้านพวงพยอม อ.จุน จ.พะเยา ภายใต้สังกัด สพป.พะเยา เขต 2 จัดกิจกรรมขะยอมปาแอ่ว สำรวจประวัติศาสตร์ชุมชนและที่มาของชื่อหมู่บ้าน เพื่อร่วมกันดูแลรักษาต้นพยอมที่เหลือเพียงไม่กี่ต้นในหมู่บ้านให้คงอยู่ตลอดไป โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชนและนักปราชญ์ในท้องถิ่นเป็นอย่างดี ทั้งในเรื่องการพานักเรียนลงพื้นที่ชุมชน และการให้ข้อมูลความรู้ หลังจากนี้ เด็กนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมจะนำข้อมูลที่ได้มาวางแผน ออกแบบ เพื่อสื่อสารในเวทีขะยอมปาอู้ เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน ชุมชน และภาคี พ่ออุ้ยแถม ตันกุล ปราชญ์ชุมชน บอกว่า “ตาแหลว” คือ เครื่องรางที่ช่วยปกป้องรักษาคุ้มครอง คนส่วนใหญ่จะนิยมนำไปติดที่หน้าบ้าน ที่ทำกิน และการทำตาแหลวไม่ใช่เป็นเรื่องยาก ซับซ้อน เพียงใช้ไม้ไผ่จำนวน 8 อัน สามารถสานเป็นตาแหลวได้แล้ว เมื่อรุ่นพี่สามารถทำตาแหลวได้แล้ว ก็มาสอนรุ่นน้องทำตาแหลวต่อ โดยตาแหลวนี้ทำให้เกิดการช่วยกันทำ มีกันคนละอัน แล้วจะนำไปติดที่ต้นขะยอม หรือพะยอม ซึ่งเป็นชื่อของหมู่บ้านพวงพะยอม เด็กนักเรียนเลือกเส้นทางที่จะไปศึกษาชุมชน โดยมีอยู่ 3 เส้นทางหลัก ได้แก่ เส้นที่ 1 จุดที่ 1 ศาลเจ้าพ่อเสือหม่น สอบถามปราชญ์ชุมชน ผู้เขียนประวัติของเจ้าพ่อเสือหม่น คือ นายสุกฤษฎิ์ เชิงเร็ว ปัจจุบันอายุ 77 ปี และพ่อหลวงหมู่ 6 นายเกตุเจริญ เป็นผู้สร้างศาลเจ้าพ่อเสือหม่นขึ้น ทั้ง 2 ท่านได้เล่าให้เด็กฟังว่า พื้นที่บริเวณศาลเจ้าพ่อเสือหม่นมีต้นขะยอม หรือ พะยอม อยู่จำนวน 14 ต้น ซึ่งมีจำนวนเหลือมากที่สุดในหมู่บ้านแห่งนี้ เพราะเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ยังไม่มีใครกล้าตัดทำลาย และเจ้าพ่อเสือหม่นเป็นที่เคารพนับถือของคนในหมู่บ้านพวงพะยอม ไม่ว่าใครจะย้ายมาจากที่ไหนก็ตาม ชื่อหมู่บ้าน...

แก้กรรม…ได้ไหม?

ไปทำอะไรไว้ไม่รู้ แต่ดวงไม่ดี ไม่มีโชค ชีวิตไม่รุ่งเรือง จะแก้กรรมอย่างไร หรือแก้ได้หรือไม่ ชวนคิดชวนคุย ในรายการ มจร. สานสัมพันธ์ สดจากสตูดิโอแม่กา ไปทำอะไรไว้ไม่รู้ แต่ดวงไม่ดี ไม่มีโชค ชีวิตไม่รุ่งเรือง จะแก้กรรมอย่างไร หรือแก้ได้หรือไม่ ชวนคิดชวนคุย ในรายการ มจร. สานสัมพันธ์ สดจากสตูดิโอแม่กาโพสต์โดย พะเยาทีวี เมื่อ วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2023